วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การจัดการ...หอผู้ป่วยเพื่อการเยียวยา


(Supportive complementary measures)




การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเยียวยา

 (Healing environment)

 

ความหมายของคำว่าเยียวยา คือ การจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวม องค์รวมคือ กาย จิต วิญญาณ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดต้องไปด้วยกัน รวมทั้งสิ่งแวดล้อม การบริการเป็นสิ่งจำเป็นในภาพรวม แม้แต่คนไข้ ญาติคนไข้ เพื่อนฝูง อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก อาคารสถานที่ ระบบการดูแลผู้ป่วย และยังให้เข้ามาแบ่งปันความรู้สึกที่ดีต่อกันด้วย


และในวันนี้เรามาดูเยียวยาโดยการจัดระบบหอผู้ป่วยค่ะ.....

หอผู้ป่วยเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพที่ใกล้ชิด

และให้บริการโดยตรงแก่ผู้บริการ ใน 4 มิติของการพยาบาล 

และเป็นหน่วยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ

รวมทั้งผู้มาใช้บริการอื่นๆ อันได้แก่ แพทย์ เภสัชกร              

นักกายภาพบำบัด    เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  จึงต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสม ดังนี้

 

 

 

 

 กล่าวคือHealing Environment หมายถึงการจัดสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลที่ทำให้ผู้ใช้สอยรู้สึกดี สบาย ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึก สัมผัส ถึงความต้องการ ความทุกข์ของผู้ป่วย เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การบำบัดและเยียวยาที่ได้ผล

             จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าองค์ประกอบต่างๆ ในสภาพแวดล้อม เช่น แสง สี เสียง กลิ่น ทัศนียภาพ งานศิลปะ เสียง วัสดุและพื้นผิวต่างๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบำบัดเยียวยาผู้ป่วย

                        โดยสภาพแวดล้อมที่ดี มีผลต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาและเร่งการฟื้นตัวของผู้ป่วย รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมด้วยการเลือกใช้ สี แสง พื้นผิววัสดุ และเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศของสภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยานี้จึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง   

                        ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมที่เยียวยานี้เราใช้ประสาทสัมผัส (ผัสสะ) ทั้ง 5 ของเราในการตีความ ซึ่งได้แก่ การมองเห็น-รูป Sight, การรู้รส Taste, การได้กลิ่น Smell, การได้ยิน-เสียง Hearing และการสัมผัส Touch ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเงื่อนไขทางกายภาพของผู้ใช้สอยพื้นที่ ดังนั้น การสร้างความเข้าใจในเรื่องของผัสสะทั้งหลายนี้ จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยาที่ได้ผล ซึ่งจะแยกอธิบายได้ดังนี้

 1.โครงสร้างหอผู้ป่วย

        1.1การมองเห็น Sigh

องค์ประกอบที่ให้เรามองเห็นนั้น ได้แก่

 

          -แสง Light แสงที่พอเหมาะ แสงธรรมชาติ แสงประดิษฐ์ หรือแสงแดด ที่ให้ความสว่างเหมาะสมไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนกิดความรำคาญสำหรับผู้ป่วยได้ ดังนั้นเราจึงควรจัดแสงให้พอเหมาะ


             -สี Colour สีสันที่ใช้ประกอบอาคาร ควรเป็นสีที่ดูแล้วร่มรื่นไม่ฉูดฉาดจนเกินไปและเป็นสีที่ให้บรรยากาศผ่อนคลายสบายๆไม่ทึบหรือหึความรู้สึกเศร้าหมองแก่ผู้ป่วย และไม่ใช่แค่ผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์ตัวของพยาบาลเองก็จะได้รับประโยชน์อย่างนั้นเช่นกันนะค่ะ

              - รูปทรง Form ลักษณะรูปทรงของวัตถุที่มองเห็น

 

             -ทัศนียภาพ Views ภาพที่ปรากฏต่อสายตาควรให้ผู้ป่วยได้เห็นสิ่งที่สวยงาม สะอาดตาเพื่อสร้างความสดชื่นให้กับตัวผู้ป่วยเอง

             - งานศิลปะ The arts ซึ่งแบ่งออกเป็น

                          :ทัศนศิลป์ Visual arts ภาพวาด จิตรกรรม ปฏิมากรรม

                          :ศิลปการแสดง Performing arts ละคร การเล่นดนตรี

 

       1.2การรู้รส Taste                 

                      รสชาติของอาหารในสถานพยาบาล

        1.3การได้กลิ่น Smell

                     กลิ่นที่เกิดขึ้น เช่นกลิ่นยา กลิ่นน้ำยาเคมี หรือ กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ

        1.4การได้ยิน-เสียง Hearing

                     เสียงจากแหล่งต่างๆมากมายในสถานพยาบาล ทั้งที่เกิดจากมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องจักร เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ และเสียงเพลง

         1.5การสัมผัส Touch

                   พื้นผิว/ความหยาบ ละเอียด ลื่น ความสะอาด ของบริเวณที่พักของผู้ป่วย


         นอกจากองค์ประกอบในเรื่องของการจัดการผัสสะทั้ง 5 แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของใจ Mind การบริหารอารมณ์ในการรับมือกับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่การรับรู้ทางใจ ระหว่าง      ผู้ป่วยญาติผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องรวมถึงการแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการกระทำ คำพูด ที่เป็นผลความรู้สึกนึกคิดของทุกๆฝ่ายก็ดูเหมือนจะมีความสำคัญต่อการเยียวยา                             

                    ภาพบรรยากาศภายในหอผู้ป่วย


 2.การพยาบาล

                       ในตัวของพยาบาลวิชาชีพนั้นจำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังนี้

                                             -สัมพันธภาพที่ดี

      -อบอุ่น เป็นมิตร

     -เป็นที่ปรึกษา รับฟัง

 

 

 

3.มีกิจกรรมทางเลือก

อาทิเช่น

                     นวด

                     สมาธิ

                     ดนตรี

                     การฝึกผ่อนคลาย

 

การจัดกิจกรรมผ่อนคลายให้แก่ผู้ป่วย

 

                      การขออโหสิกรรม ขอขมา การทำบุญเลี้ยงพระ





              เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยบูรณาการวิถีพุทธ วิถีการดูแลรักษาพยาบาลประกอบด้วยการช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงามจัดหิ้งพระชนะความทุกข์ทรมานหนังสือธรรมะชนะความทุกข์ โครงการพระภิกษุเยี่ยมไข้ การทำบุญให้แก่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตและการขอขมาและส่งวิญญาณคนไข้ระยะสุดท้าย

                      

               และเป็นอีกแนวทางหนึ่งโดยพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันในทีมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ ตามแผนกลยุทธ์ของฝ่ายการพยาบาล โดยมีกระบวนการพยาบาล ที่ประกอบด้วย

     1.การช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม การแนะนำให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติ นึกถึงสิ่งดีงามช่วยให้จิตใจเป็นกุศลและบังเกิดความสงบ ทำให้ความกลัวคุกคามจิตได้น้อยลง และสามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น ซึ่งวิธีหนึ่งที่แนะนำให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติปฏิบัติเสมอ คือการระลึกถึงและมีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

    2.จัดหิ้งพระชนะความทุกข์ทรมาน การจัดหิ้งพระ ในหอผู้ป่วย ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถจัดให้มีห้องพระได้ทีมของเราก็ได้จัดให้มี หิ้งพระและอาราธนาพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติกราบไหว้ สร้างขวัญและกำลังใจ ทำให้ส่วนหนึ่งคลายความวิตกกังวลจากการเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้หนักที่อยู่ในภาวะวิกฤตและ/หรือระยะสุดท้ายของชีวิต

 

              3.หนังสือธรรมะชนะความทุกข์ หนังสือธรรมะ มีไว้ประจำหอผู้ป่วยเพื่อให้ญาติผู้ป่วยอ่าน บางครั้งก็มอบให้ไปอ่านที่บ้าน พบว่าผู้ป่วยและญาติบางคน สามารถใช้หนังสือธรรมะจรรโลงจิตใจ ผ่อนคลายและง่ายต่อการปรับตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากร่างกายและจิตใจจะแยกกันไม่ออก ถ้าภาวะทางจิตดีทางกายก็มักดีด้วยเสมอ

 

     4.โครงการพระภิกษุเยี่ยมไข้ ชาวพุทธนิยมทำบุญ ยามเจ็บไข้ได้ป่วยมีความต้องการพบพระ ดังนั้นโครงการพบพระชำระใจช่วยได้มาก จากการสังเกตและสอบถาม พบว่าทั้งผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจมาก เนื่องจากชาวพุทธเชื่อว่าการพบพระ ช่วยทำให้จิตใจแจ่มใส บางคนก็จะถือโอกาสนี้ทำบุญด้วย เพราะเชื่อว่าการทำบุญ ผลบุญจะส่งผลให้พ้นเคราะห์ ประสบแต่ความสุขความเจริญในชีวิต

    5.การทำบุญให้แก่ผู้ป่วยที่เสียชีวิต ทุกๆปีจะมีผู้ป่วยเสียชีวิตในหอผู้ป่วยไม่น้อย การทำบุญให้แก่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะช่วยให้ทั้งบุคลากรและญาติผู้ป่วยรู้สึกดี ภายในหอผู้ป่วยจะจัดการทำบุญเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังมีการทำบุญที่งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ด้วย โดยที่นำรายชื่อญาติผู้ป่วยทุกคนที่เสียชีวิต และจะโทรฯแจ้งให้ญาติ   ผู้ป่วยรับทราบทุกครั้งที่มีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ป่วย ซึ่งในแต่ละปีมีญาติผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มาร่วมทำบุญด้วย

    6.การขอขมาและส่งวิญญาณคนไข้ระยะสุดท้ายการทำกิจกรรมทุกอย่าง เป็นเรื่องของความหวังดี แต่ก็มีเรื่องไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้เสมอ กล่าวคือเราต้องการรักษาแต่ว่าบางครั้งก็ทำให้ให้คนไข้ได้รับบาดเจ็บ ถ้ามองในมุมมองของกฎหมายก็ถือว่าเป็นการละเมิดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นความทุกข์ทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ การจัดกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของคนไข้และญาติในโรงพยาบาลที่เรียบง่าย และไม่รบกวนคนอื่น การขอขมาและแสดงความเคารพผู้ที่เสียชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้ผู้ที่เสียชีวิตจากไปด้วยความสงบ ญาติคลายความทุกข์โศก และในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นการขออโหสิกรรมของทีมการรักษาพยาบาลด้วย

 

 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจ...

 

 

     ตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย   

          1.โครงการKMการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของแผนกการพยาบาลจักษุ โสต ศอ นาสิก

          2.CoPการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

          3.Palliative care กับผู้ป่วยระยะสุดท้าย / ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ อายุรแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ

 


 

         

                                         



อ้างอิง

เผ่าทิพย์ บุญญศาสตร์พันธ์. (2554). Palliative Care : Concept and Implication in
             nursing. วันค้นข้อมูล4 เมษายน 2556, จาก.http://www.tnc.or.th
รายการคนค้นคน. (2553). การดาวศรี พยาบาลแม่พระ รพ.มอ.2/4. วันค้นข้อมูล
            4 เมษายน 2556จาก. http://www.youtube.com/watch?v=17EWe08YDWg